การพิมพ์ คือ การผลิตสำเนาข้อความ และภาพลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น กระดาษ ผ้า เป็นต้น ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฎอยู่บนผนังถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฎผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ ในช่วงประมาณ 17,000 – 12,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว ยังปรากฎผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้น ซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้
นอกจากนั้น ยังปรากฎการเริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stensil) โดยวิธีการใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฎเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่ง ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปเปิดประวัติบิดาผู้คิดค้นการพิมพ์ และระบบพิมพ์ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการพิมพ์ที่นำมาใช้ในปัจจุบัน ถ้าอยากรู้แล้วว่าบิดาผู้คิดค้นระบบพิมพ์ มีใครบ้าง ไปชมพร้อมกันเลยค่ะ
ประวัติบิดาผู้คิดค้นระบบพิมพ์
โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg)
ที่มา: en.wikipedia.org
โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก เป็นช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างพิมพ์ และนักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะผสมได้สำเร็จ และนายกูเตนเบิร์กยังได้พัฒนาเครื่องพิมพ์ หมึกพิมพ์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ และกรรมวิธีในการพิมพ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็น บิดาแห่งการพิมพ์ของโลก และเป็นผู้คิดค้น การเรียงตัวเรียงพิมพ์ การพิมพ์ระบบเลตเตอร์เพรส (letterpress printing) ซึ่งเป็นรากฐานการพิมพ์ระบบการพิมพ์เฟลกโซกราฟี (flexography printing) อีกด้วย
มาโช ฟินิเกอรา (Maso Finigura)
ที่มา: artsandculture.google.com
มาโช ฟินิเกอรา ชาวอิตาเลียนได้ใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์แทนท่อนไม้แบบของชาวจีน ในยุคนั้นได้มีการใช้พิมพ์ภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ และภาพทางศาสนา ซึ่งมีการเรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์อินทาโย (Intaglio printing) ในช่วงแรกการทำแม่พิมพ์ใช้วิธีแกะสลักบนแผ่นโลหะ ต่อมาได้ใช้วิธีการเคลือบแผ่นโลหะด้วยสารที่ทนต่อการกัดกร่อนของกรด จากนั้นใช้เหล็กขูดสารเคลือบบริเวณที่ต้องการสร้างภาพ แล้วใช้กรดกัดจนเกิดเป็นร่องลึกตามบริเวณที่ถูกขูด
วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ ทาลบอท (William Henry Fox Talbot)
ที่มา: britannica.com/biography
วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ ทาลบอท ได้นำเทคนิคการสร้างภาพผ่านแผ่นสกรีนกระจกมาทำแม่พิมพ์โลหะ และเรียกกรรมวิธีนี้ว่า โฟโตกราวัวร์ (Photogravure) การพัฒนาระบบกราวัวร์ (Gravure printing) มีอย่างต่อเนื่อง และสามารถประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์ป้อนกระดาษแบบม้วนด้วยความเร็วสูง ซึ่งเรียกว่า โรโตกราวัวร์ (Rotogravure) ในปี ค.ศ. 1880 และต่อมาก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์แบบป้อนแผ่นขึ้นในปี ค.ศ. 1913 การพิมพ์กราวัวร์ยังคงมีใช้อยู่จนปัจจุบันนี้ เหมาะสำหรับการพิมพ์งานที่มีปริมาณสูง
วิลเฟรด ฟิลลิปป์ (Wilfred Phillipp)
ที่มา: tampoprint.de
ในปี ค.ศ. 1965 ชาวเยอรมันชื่อ นายวิลเฟรด ฟิลลิปป์ ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แพด และเป็นผู้คิดค้นการพิมพ์แพด (Pad Printing) ขึ้นสำหรับพิมพ์นาฬิกามีชื่อเรียกว่าเครื่องพิมพ์แทมโป (Tempoprint) และในปี ค.ศ. 1968 นายฟิลลิปป์ยังได้ใช้ซิลิโคนมาทำเป็นแพดแทนเจละติน ทำให้งานพิมพ์มีคุณภาพดีขึ้น และยังเป็นวัสดุที่ใช้ในโรงพิมพ์หลาย ๆ แห่งมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม่พิมพ์แพดเป็นแม่พิมพ์แบบพื้นลึกทำจากโลหะหรือพอลิเมอร์ หลักการพิมพ์ของการพิมพ์ลักษณะนี้คือ เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกก็จะถ่ายหมึกให้ตัวกลาง ซึ่งทำจากยางซิลิโคนที่ถูกเรียกว่าแพด (Pad) แพดจะถ่ายโอนหมึกให้กับวัสดุใช้พิมพ์อีกทอดหนึ่ง
อะลัว เชเนเฟเดอร์ (Alois Senefelder)
ที่มา: multimediaman.blog
อะลัว เชเนเฟเดอร์ ได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์พื้นราบ โดยทำภาพที่ต้องการรับหมึกบนแม่พิมพ์หินให้เป็นไข แล้วใช้น้ำผสมกาวกระถินลูบบนแม่พิมพ์หินดังกล่าว น้ำที่ผสมกาวกระถินจะไม่เกาะบริเวณไข และเมื่อคลึงหมึกลงบนแม่พิมพ์ หมึกมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันจะไม่เกาะติดบริเวณที่เป็นน้ำแต่จะไปเกาะติดบริเวณที่เป็นไขซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นภาพ เมื่อนำแผ่นกระดาษมาทาบบนแม่พิมพ์ก็จะเกิดภาพบนกระดาษนั้นและให้ภาพที่คมชัดสวยงามกว่าระบบการพิมพ์อื่นในยุคนั้น
วอชิงตัน รูเบล (Ira Washington Rubel)
ที่มา: printaction.com
วอชิงตัน รูเบล ได้ค้นพบวิธีทำให้ภาพคมชัดขึ้นโดยบังเอิญ กล่าวคือ แทนที่จะให้กระดาษรับหมึกโดยตรงจากแม่พิมพ์ ก็ให้ผ้ายางเป็นผู้กดทับ และรับหมึกจากแม่พิมพ์ก่อน แล้วผ้ายางจึงกดทับถ่ายหมึกที่เป็นภาพพิมพ์ไปยังกระดาษอีกที เนื่องจากผ้ายางมีความนิ่ม การส่งถ่ายหมึกจึงสมบูรณ์ ภาพจึงคมชัดสวยงามยิ่งขึ้น การพิมพ์ที่มีการถ่ายทอดภาพพิมพ์สองครั้งนี้ถูกเรียกว่าการพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing)
เซนไซ ยามาซากิ (Sensei yamazaki)
ที่มา: technicalprintservices.co.uk
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เซนไซ ยามาซากิ ชาวญี่ปุ่นได้ใช้เส้นผมของคน และกาวมาทำแม่พิมพ์แบบฉลุขึ้น ทำให้ได้งานที่ละเอียดกว่าการตัดกระดาษ เรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์แฮร์สแตนซิล (Hair Stencil) และต่อมาได้มีการใช้เส้นไหมซึ่งแข็งแรงกว่ามาใช้ทำแม่พิมพ์แทนเส้นผม จึงมีชื่อเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน (Silkscreen Printing)
สรุป
การพิมพ์ได้ถือกำเนิดมาอย่างยาวนาน และค่อย ๆ พัฒนามาตามยุค ตามสมัย จนเป็นระบบการพิมพ์ และงานพิมพ์ต่าง ๆ ที่เราได้ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ และสำหรับท่านใดที่สนใจอยากทำงานพิมพ์ต่าง ๆ ThaiDigitalPrint.com เรารับออกแบบ และผลิตงานพิมพ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น นามบัตร ใบปลิว แผ่นพับ การ์ดเชิญ คูปอง เมนูอาหาร ปฏิทิน หนังสือ นิตยสาร กล่องบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ทุกรูปแบบ ทุกประเภท โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ ยิ่งพิมพ์จำนวนเยอะ ราคาต่อชิ้นยิ่งถูก เรารับประกันงานพิมพ์คุณภาพด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ ใส่ใจในทุกขั้นตอนการพิมพ์เพื่อคุณภาพของงานพิมพ์ที่ดีที่สุด
เกี่ยวกับ Thaidigitalprint
Thaidigitalprint เราดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานพิมพ์ โดย บริษัท เอ็ม.ไอ.ดับบลิว.กรุ๊ป จำกัด เรามุ่งมั่นพัฒนาทักษะด้านการพิมพ์ และรักษามาตรฐานมาโดยตลอด มั่นใจได้ว่าเรามีความพร้อมในการผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ด้วยประสบการณ์ทางด้านงานพิมพ์มากกว่า 29 ปี