หนังสือกับการเปลี่ยนแปลงสุดน่าทึ่ง ที่หลายคนยังไม่รู้!!

หนังสือ มีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน หนังสือจิตวิทยา หนังสือประวัติศาสตร์ หนังสือนิยาย หนังสือการ์ตูน นิตยสาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ให้คุณสามารถได้เลือกอ่านกัน แต่รู้หรือไม่ว่า หนังสือเกิดขึ้นมาได้อย่างไร การทำหนังสือ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยไหน และการทำหนังสือ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากเพียงใด วัสดุที่ใช้ทำหนังสือในอดีตแตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติหรือไม่ วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูหนังสือกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย จนถึงปัจจุบัน มาฝากกันค่ะ

หนังสือกับการเปลี่ยนแปลงสุดน่าทึ่ง!!

จุดเริ่มต้นของหนังสือ 

ก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือลงบนกระดาษที่เรียกว่า “ Papyrus ” และทำเป็นเล่มโดยการม้วนในลักษณะที่เรียกว่า“ Volumen ” ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นคำว่า “ Volume ” หนังสือลักษณะนี้ เล่มที่เก่าแก่ที่สุดคือ “ The Great Harris Papyrus ” ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ประเทศอังกฤษ มีความยาวของม้วน 133 ฟุต และหน้ากว้าง 16 ¾ นิ้ว เป็นหนังสือที่ระบุเวลาไว้ว่า เป็นปีที่ 32 ของกษัตริย์รามเสส ที่ 3

เมื่อราว 400 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวจีนรู้จักการนำผ้าไหมมาใช้งาน ได้มีการเขียนหนังสือลงบนผ้าไหม ทำเป็นเล่มในลักษณะม้วนเหมือนกับอียิปต์ และหลังจากที่จีนคิดกระดาษขึ้นใช้ใน ค.ศ. 105 การทำหนังสือก็ยังใช้ลักษณะเป็นม้วนเช่นเดิม หนังสือของจีนที่พิมพ์ด้วยบล็อกไม้ และมีหลักฐานคงเหลืออยู่คือ ชิ้นพิมพ์วัชรสูตร เป็นม้วนกระดาษยาว 16 ฟุต กว้าง 1 ฟุต มีวันที่พิมพ์ และชื่อผู้พิมพ์ปรากฏในหนังสือว่า “ พิมพ์เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 868 โดย วางชี ” สำหรับแจกทั่วไปเพื่อเป็นที่ระลึกถึง บิดามารดา นับว่าเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งก็มีลักษณะเป็นม้วน

ชิ้นพิมพ์ที่เก่าที่สุด

ชิ้นพิมพ์ที่เก่าที่สุดที่มีลักษณะเป็นชิ้นพิมพ์ที่พบที่ญี่ปุ่น เป็นการพิมพ์ยันต์ และคาถา จัดพิมพ์ขึ้นโดยโองการของจักรพรรดิ โชโตกุ เพื่อแจกในปี ค.ศ. 770 ก่อนที่จีนจะรู้จักการใช้ผ้าไหม และกระดาษ การเขียนหนังสือจะเขียนลงบนไม้ไผ่ ทำเป็นเล่มหนังสือโดยเจาะรูร้อยเชือกไว้เป็นมัด ๆ การทำเล่มหนังสือในลักษณะนี้ทำขึ้นในราวประมาณ 500 ปี ก่อนคริสตกาล

อินเดียก็มีการทำเล่มหนังสือโดยใช้วิธีจารลงบนใบลาน แล้วจึงเจาะร้อยเชือกเป็นเล่มในลักษณะคัมภีร์พระเทศน์ ที่ยังคงมีใช้กันในปัจจุบันนี้ หนังสือใบลานลักษณะนี้ใกล้เคียงกับสมัยพุทธกาล คือในราว 500 ปี ก่อนคริสตกาล

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนังสือ

ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกเขียนหนังสือแล้วใช้แผ่นไม้ 2 แผ่น มีห่วงโลหะยึดให้ติดกันไว้ตรงกลาง มีลักษณะคล้ายกับเล่มหนังสือ

ต่อมาในปี ค.ศ. 950 ชาวจีนเป็นผู้ริเริ่มดัดแปลงรูปเล่มหนังสือก่อนชาติอื่น เนื่องจากการใช้หนังสือที่มีลักษณะเป็นม้วน ทำให้ขาดความสะดวกในการค้นคว้าหรืออ้างอิงในส่วนกลาง ๆ ของเล่ม เพราะจะต้องหมุนม้วนไปจนถึงบริเวณที่ต้องการ ทำให้เสียเวลา จึงได้คิดค้นทำหนังสือให้เป็นลักษณะหนังสือพับ ( Folder book ) คือพับไปพับมามีลักษณะคล้ายสมุดข่อยของไทย ทำให้เกิดความสะดวกในการค้นคว้า จะเปิดอ่านตอนไหนของเล่มก็สะดวก และรวดเร็ว

เกิดหนังสือแบบเย็บเล่ม ( Stitch book )

ปี ค.ศ. 1116 จีนเริ่มรู้จักเย็บเล่มหนังสือพับด้วยเชือก โดยเย็บทางด้านข้างให้ติดกับด้านหนึ่ง และเปิดอ่านอีกด้านหนึ่ง กระดาษที่จีนทำด้วยมือในระยะแรก ๆ จะเป็นกระดาษบาง ตัวหนังสือเขียนด้วยพู่กัน และหมึกที่มีตัวนำเป็นน้ำ ทำให้กระดาษเขียนได้หน้าเดียวคือเขียนลงบนกระดาษแล้วพับกลาง ให้ด้านที่เขียนหนังสืออยู่ข้างนอก แล้วเรียงลำดับซ้อนกัน และเย็บติดกันตรงสันซึ่งเป็นด้านปลายกระดาษ ด้านพับจึงเป็นด้านริมของหนังสือที่เปิดได้ นับว่า จีนเป็นผู้คิดหนังสือเย็บเล่ม ( Stitch book ) เป็นชาติแรก และชาติอื่น ๆ จึงได้นำมาเลียนแบบ

ในยุโรปมีการคิดทำ Parchment ( หนังสัตว์ที่ฟอกแล้ว ) มาใช้สำหรับเขียน และมีการทำหนังสือโดยการเขียนด้วยมือ พระ และบาทหลวงตามวัดต่าง ๆ ได้ผลิตหนังสืออกมาเป็นจำนวนมาก โดยใช้วิธีการเขียนหนังสือคัดตัวบรรจงอย่างสวยงาม มีการใส่กนกลวดลาย ภาพประดิษฐ์ต่าง ๆ ในหน้าหนังสือ และระบายสีอย่างงดงาม เรียกหนังสือนี้ว่า “ Illuminated book ” มีการทำปกแข็งด้วยหนัง และโลหะ แล้วเย็บเป็นเล่มให้เปิดได้ด้านหนึ่ง มีลักษณะคล้ายหนังสือในปัจจุบันนี้ แต่มีขนาดตัวเล่มใหญ่มาก ส่วนใหญ่ต้องตั้งอ่านบนโต๊ะ

รูปแบบหนังสือที่นำมาใช้ในปัจจุบัน

จนถึงปี ค.ศ. 1499 Aldus Manutius ซึ่งเป็นช่างพิมพ์ชาวเวณิช ในอิตาลี ได้จัดทำตัวพิมพ์ให้มีขนาดเล็กลง และผลิตหนังสือให้มีลักษณะรูปเล่ม และขนาดหนังสือเท่ากับหนังสือที่ใช้กันในปัจจุบัน สำนักพิมพ์ของเขาคือ Aldine Press ซึ่งมีชื่อเสียงมากในยุคนั้น ทำให้มีผู้นิยมอ่านหนังสือกันอย่างแพร่หลาย แต่รูปเล่มของหนังสือยังขาดความประณีตสวยงาม เพียงให้มีลักษณะเป็นเล่มเท่านั้น

กระทั่งในปี ค.ศ. 1888 William Morris ได้ตั้ง Kelmscott Press ขึ้นที่ประเทศอังกฤษ และได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการผลิตหนังสือ โดยให้มีการออกแบบ และวางรูปเล่มอย่างเป็นศิลปะที่จะต้องทำด้วยความประณีต และรอบคอบ ดังนั้น ความคิดต่าง ๆ ในการออกแบบ การจัดวางรูปเล่ม และการจัดพิมพ์หนังสือ จึงเกิดได้ขึ้นอย่างแพร่หลาย ทำให้มีผู้สนใจศึกษากันมากยิ่งขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้

รูปแบบหนังสือของไทย 

เนื่องจากประเทศไทยมีแบบฉบับหนังสือเป็นของตนเองมานาน ตั้งแต่โบราณกาล โดยการใช้วัตถุดิบของท้องถิ่นที่มีในธรรมชาติ ประดิษฐ์เล่มหนังสือ อาทิ ใบไม้ เปลือกไม้ และเยื่อไม้ เป็นวัสดุรองรับในการเขียน ใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ดิน หิน – แร่ธาตุ เป็นหมึก และสีสำหรับบันทึกตัวอักษร และวาดภาพ เพื่อใช้สำหรับบันทึกเรื่องราวทางศาสนา ตำรา จดหมายเหตุ วรรณคดี ตลอดจนภาพจิตรกรรมต่าง ๆ หนังสือของไทยจึงนับเป็นสมบัติที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ทรงคุณค่าทั้งทางด้านศาสตร์ และศิลป์ของชาติไทย

หนังสือของไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นลำดับอันยาวนาน และมีหลากหลายลักษณะรูปเล่ม เช่น หนังสือฉบับเขียน หนังสือใบลาน หนังสือสมุดไทย หนังสือฉบับพิมพ์ หนังสือหายาก หนังสืองานศพ และในปัจจุบันก็ยังมีหนังสือในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-book อีกด้วย

สรุป

ในอดีตการทำหนังสือวัสดุที่ใช้ทำหนังสือจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ พัฒนาจนเป็นแบบเดียวกันทั่วโลก ทั้งวัสดุที่นำมาทำหนังสือ และรูปแบบการเข้าเล่ม จนทำให้เป็นหนังสือที่เราได้อ่านกันในปัจจุบันนี้ค่ะ และในปัจจุบันก็ยังมีหนังสือในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E-book ) ให้เราได้อ่านกันอีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจอยากทำหนังสือต่าง ๆ ThaiDigitalPrint.com เรารับออกแบบ และผลิตหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน หนังสือนิยาย หนังสือการ์ตูน นิตยสาร ไดอารี่ และหนังสืออื่น ๆ ทุกรูปแบบ ทุกประเภท โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ ยิ่งพิมพ์จำนวนเยอะ ราคาต่อชิ้นยิ่งถูก เรารับประกันงานพิมพ์คุณภาพด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์ ใส่ใจในทุกขั้นตอนการพิมพ์เพื่อคุณภาพของงานพิมพ์ที่ดีที่สุด

เกี่ยวกับ Thaidigitalprint

Thaidigitalprint เราดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานพิมพ์ โดย บริษัท เอ็ม.ไอ.ดับบลิว.กรุ๊ป จำกัด เรามุ่งมั่นพัฒนาทักษะด้านการพิมพ์ และรักษามาตรฐานมาโดยตลอด มั่นใจได้ว่าเรามีความพร้อมในการผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ด้วยประสบการณ์ทางด้านงานพิมพ์มากกว่า 29 ปี


สอบถามราคา
  • Line ID : @thaidigitalprint
  • Tel : 095-7692010 (เซลล์ส้ม)
  • Tel : 095-7692010 (เซลล์มิ้นท์)
  • E-mail : infoprint@miwgroup.co.th
Exit mobile version